คำนวณ BTU แอร์ แบบเข้าใจง่าย สำหรับผู้ต้องการติดแอร์ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม คุ้มค่าที่สุด
ขนาด BTU ที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดห้อง อาจทำให้ค่าไฟพุ่งสูง หรือถ้าหากเลือกแอร์ที่มีขนาดใหญ่จนเกินไป เพราะต้องการให้ห้องเย็นไว ก็จะส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ตัดการทำงานบ่อยครั้ง ซึ่งทำให้แอร์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
บีทียู หรือ British Thermal Unit (BTU) เป็นหน่วยประเภทหนึ่งสำหรับใช้วัดปริมาณความร้อน ส่วนใหญ่มักนำมาใช้กับระบบของแอร์ หากเทียบกับหน่วยสากลแล้วมันก็คือ จูล หรือ แคลอรี นั่นเอง สำหรับความร้อนระดับ 1 BTU หมายถึง ระดับความร้อนที่ส่งผลให้น้ำระดับ 1 ปอนด์ จะมีอุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเมื่อมีการนำมาใช้กับแอร์หมายถึงระบบของแอร์ จะทำการดึงเอาความร้อนหรือ วัดระดับของความเย็น ในพื้นที่ที่ติดตั้งออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้คงที่มากที่สุดนั่นเอง
BTU | ห้องปกติ | ห้องโดนแดด |
---|---|---|
9,000 | 12-15 ตร.ม. | 11-14 ตร.ม. |
12,000 | 16-20 ตร.ม. | 14-18 ตร.ม. |
18,000 | 24-30 ตร.ม. | 21-27 ตร.ม. |
21,000 | 28-35 ตร.ม. | 25-32 ตร.ม. |
24,000 | 32-40 ตร.ม. | 28-36 ตร.ม. |
25,000 | 35-44 ตร.ม. | 30-39 ตร.ม. |
30,000 | 40-50 ตร.ม. | 35-45 ตร.ม. |
35,000 | 48-60 ตร.ม. | 42-54 ตร.ม. |
48,000 | 64-80 ตร.ม. | 56-72 ตร.ม. |
80,000 | 80-100 ตร.ม. | 70-90 ตร.ม. |
ค่าความแตกต่าง หรือ Cooling load คือ ค่าความร้อนที่เกิดขึ้นภายในแต่ละห้อง จะมีค่าแตกต่างกันไปตามลักษณะของห้อง เช่น
ห้องนั่งเล่น ค่า Cooling load เท่ากับ 750-850 BTU ต่อตารางเมตร
ห้องนอน ค่า Cooling load เท่ากับ 700-750 BTU ต่อตารางเมตร
ห้องทำงาน ค่า Cooling load เท่ากับ 800-900 BTU ต่อตารางเมตร
ห้องครัว ค่า Cooling load เท่ากับ 900-1,000 BTU ต่อตารางเมตร
หรือจะเลือกคำนวณค่า Cooling load ด้วยวิธีคิดง่าย ๆ ก็ได้เช่นกัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ห้องที่มีความร้อนสูงและใช้งานในช่วงเวลากลางวัน ค่า Cooling load เท่ากับ 700-800 BTU ต่อตารางเมตร
ห้องที่มีความร้อนไม่มากหรือน้อย และใช้งานในช่วงเวลากลางคืน ค่า Cooling load เท่ากับ 600-700 BTU ต่อตารางเมตร
ห้องนั่งเล่นมีขนาดพื้นที่ กว้าง 4 เมตร ยาว 5 เมตร เท่ากับ
ดังนั้นควรเลือกแอร์มาติดตั้งในขนาด 15,000 BTU ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมกับห้องนั่งเล่นที่มีขนาด 20 ตารางเมตร
นอกจากนี้เรายังไม่ควรละเลยในเรื่องขององค์ประกอบภายในห้อง อาทิเช่น ทิศทางของแสง จำนวนของหน้าต่าง ความสูงของฝ้าเพดาน เป็นต้น เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะช่วยทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้มีประสิทธิภาพ สามารถปล่อยความเย็นได้เต็มพื้นที่ในระยะเวลาที่ไม่นาน ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และยังประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย
1.ขนาดและจำนวนของหน้าต่างและกระจกในห้อง
2.ทิศทางแสงแดดและตำแหน่งของห้อง แสงแดดที่ส่องจะย่อมส่งผลให้ภายในบ้านมีอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น ดังนั้นห้องที่ได้รับแสงแดดตกกระทบจำเป็นต้องเลือก BTU แอร์ที่สูงขึ้น เช่น ห้องนั่งเล่นที่โดดแสงแดดส่องผ่านในชั่วเวลากลางวันตลอดเวลา ขนาดของพื้นที่ห้องเหมาะสมกับการใช้ขนาดแอร์ 9,000 BTU ก็อาจจะเลือกขนาดแอร์ที่เพิ่มขึ้นเป็น 12,000 BTU เพื่อช่วยระบายหรือไล่ความร้อนภายในห้องให้เร็วยิ่งขึ้น ไม่ให้แอร์ทำงานหนักจนเกินไป
3.ความสูงของฝ้าเพดานและวัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
4.จำนวนคนที่ใช้งานภายในห้อง ยิ่งจำนวนสมาชิกภายในห้องมากเท่าไหร่ ความร้อนที่สะสมอยู่ภายในร่างกายย่อมระบายออกมามาก ซึ่งส่งผลให้แอร์ทำงานหนักขึ้น และห้องเย็นช้าลง
5.จำนวนและประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดความร้อน เช่น ไมโครเวฟ ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้อุณหภูมิภายในห้องลดช้าลง หรือเย็นช้าลง แต่บางครั้งก็ยากที่จะเลี่ยงในการติดตั้งและใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ การเพิ่มขนาด BTU จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ไขที่จะช่วยเพิ่มความเย็นให้ภายในห้องได้ หรือหากจำเป็นต้องเปิดใช้งาน ก็ควรเปิดใช้งานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันทุกเครื่อง
6.ความถี่ในการเปิด-ปิด/เข้า-ออกประตู หนึ่งในสาเหตุที่อากาศร้อนจากภายนอกห้อง เล็ดลอดเข้ามาภายในห้องแอร์ได้ คือ การเปิด-ปิดประตูเข้าออกห้องอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลให้แอร์ทำงานหนักมากขึ้น อุณหภูมิภายในห้องเย็นช้าลง และไม่สม่ำเสมอ